วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


หวัดดี เพื่อนๆ วันนี้วันชาติฝรั่งเศส ล่ะ
เราชอบที่6/6 + 6/7 แสดง พี่เค้าฮามากอ่ะ แล้วก้อเก่งมากด้วยล่ะ
อยากให้มีอีกจังเลย วันนี้ได้กินครัวซองค์ล่ะ ตอนเช้าดันไปตอบคำถาม เลยได้กิน
ร่อยโคตรต เพราะไม่ได้กินข้าวเช้ามา
เออ วันนี้คุณชาค์มาพูดล่ะ พยายามเต็มที่มากๆ แต่สมองอันน้อยนิด มาประมวลผลออกมางงล่ะ
คือเค้าพูดรู้เรื่องน่ะ แต่เราอ่ะ ฟังไม่รู้เรื่องเอง เฮ้อ กำ



14 กรกฎาคม Bastille Day วันชาติฝรั่งเศส
อาทิตย์นี้ทีมงานวันว่างขอรำลึกถึงวันสำคัญของมิตรประเทศอย่างฝรั่งเศส ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งทางวัฒนธรรม และ ค้าขายกันมายาวนานและคงเป็นที่ทราบ กันดีในหมู่คนไทยที่สนใจประวัติศาสตร์ทางยุโรปว่า วันที่ 14 ก.ค. นั้นเป็นวันรำลึกถึง วันชาติฝรั่งเศส ความเป็นมาของวันนี้เป็นอย่างไรนั้น ทางทีมงานวันว่างได้ค้นหาข้อมูล มาเป็นเกร็ดความรู้แก่ท่านผู้อ่าน มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
วัน Bastille คือวันที่ 14 กรกฏาคม เป็นวันที่คุก Bastille:ซึ่งคุมขัง นักโทษทางการเมืองในฝรั่งเศสถูกทำลายโดยพลังประชาชน วันนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ ของการสิ้นสุดการปกครองแบบราชาธิปไตยในประเทศฝรั่งเศส และเริ่มต้นศักราชของ การปกครองแบบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรก
ในวันหยุดประจำชาติวันนี้ คือห้วงเวลาที่ประชาชนชาวฝรั่งเศสจะร่วมกันรำลึกถึง การก่อตั้งสาธารณรัฐ อีกทั้งในวันนี้ยังเป็นวันที่เปรียบเสมือนกับรากเหง้าประวัติศาสตร์ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองอันน่าจดจำ ซึ่งลำดับเหตุการณ์โดยสังเขปในครั้งนั้น มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 ; บรรดาเหล่าขุนนางในระบอบการปกครอง แบบราชาธิปไตยเปิดประชุมสภาขุนนางทันทีที่ พวกเขาได้ข่าวว่า บรรดาชนชั้นกรรมมาชีพ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคมฝรั่งเศสใน สมัยนั้น เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้เป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญและก่อตั้งรัฐสภาแห่งชาติ20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 ; ตัวแทนของคณะก่อการจากชนชั้นกรรมมาชีพ ได้กระทำสัตยาบรรณร่วมกัน ที่เรียกว่า Jeu de Paume ซึ่งจารึกไว้ว่า เหล่าคณะผู้ก่อการจะไม่ แตกแยกกันจนกว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญเป็น ผลสำเร็จ แนวความคิดของคณะผู้ก่อการ ได้รับการตอบรับอย่างยิ่งยวดจากประชาชนชาว ฝรั่งเศสที่ต้องต่อสู้กับความแร้นแค้น และสภาวะเสื่อมถอยของสังคมในสมัยนั้น ในขณะที่แนวความคิดนี้ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง กับชนชั้นขุนนาง14 กรกฏาคม ค.ศ. 1789 ;เมื่อมีแนวร่วมมากขึ้นทำคณะปฏิวัติ แข็งแกร่งขึ้นทุกขณะ ประชาชนในปารีสได้รวมตัวกันเดินขบวนไปยังคุก Bastille เพื่อ ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่มีความเห็นไม่ตรงกันกับบรรดาเหล่าขุนนางความล่มสลายของคุก Bastille ภายใน 1 วันด้วยพลังประชาชนทำให้การปฏิวัติประสบ ผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ; การปฏิวัติประสบผลสำเร็จ ความล่มสลาย ของคุก Bastille กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ และประชาธิปไตย ของชาวฝรั่งเศส ทุกคนตราบจนกระทั่งทุกวันนี้




คำกล่าวของมร.โลรองต์ โอแบล็ง เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เนื่องในวันชาติฝรั่งเศส
ฯพณฯ องคมนตรี ฯพณฯ เอกอัครราชทูต มร.โรแบร์ต ลามี ประธานคณะกรรมการกลุ่มมิตรภาพฝรั่งเศส-ไทยแห่งรัฐสภา และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ข้าพเจ้าและภริยามีความยินดีอย่างยิ่งที่มีโอกาสต้อนรับท่านทั้งหลายอีกครั้งในงานฉลองวันชาติฝรั่งเศส ปีนี้นับเป็นปีที่สำคัญยิ่งสำหรับความสัมพันธ์ของฝรั่งเศสและไทย
พวกเราทุกคนในที่นี้จะจดจำการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ ฌากส์ ชีรัค ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และภริยา ในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนา่งเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปอีกนาน การเดินทางมาเยือนครั้งนี้ซึ่งมีขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาถือเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ และถือเป็นการย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสามปีที่แล้วได้มีการร่วมมือในการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่สำคัญในหลายๆ ด้าน อีกทั้ง ยังได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมืออีกหลายฉบับ ซึ่งจะช่วยเปิดมิติใหม่ให้กับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยและฝรั่งเศส
พุทธศักราช 2549 เริ่มขึ้นด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย และนางคริสติน ลาร์การ์ด รัฐมนตรีการพาณิชย์ระหว่างประเทศของฝรั่งเศส ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมโครงการต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมไว้ด้วยกัน และสามารถนำมาใช้ดำเนินการตลอดสามปีข้างหน้า
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่เห็นความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนด้านดังกล่าว สำหรับประเทศฝรั่งเศสและไทย ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมได้แก่ งานเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสหรือลา แฟ็ต (La Fête) ซึ่งเพิ่งจบลงอย่างดียิ่งด้วยการแสดงของฟิลิปป์ เดอกูเฟล่ และต่อจากนี้ จะมีการจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยที่ใช้ชื่อว่า Tout à fait thaï ขึ้นที่กรุงปารีสและโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แวร์ซายส์ งานสำคัญดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กันยายนนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวฝรั่งเศสจะได้มีโอกาสชมการแสดงทางศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งการแสดงคลาสสิคและร่วมสมัย ในโอกาสนี้ ประเทศฝรั่งเศสรู้สึกเป็นเกียรติ อย่างยิ่งที่จะได้ถวายการต้อนรับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี รัฐบาลฝรั่งเศสถือโอกาสครั้งนี้เพื่อร่วมเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 60 ปีด้วย
ในส่วนของประชาคมฝรั่งเศสที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ปีนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญเนื่องจากมี การเลือกตั้งผู้แทนชาวฝรั่งเศสในต่างประเทศ และข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับ มร.มิเชล เตสตาร์ด ซึ่งได้ให้เกียรติมาร่วมงานกับพวกเราทั้งหลายในค่ำคืนนี้ด้วย นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังมีความยินดีที่ได้ต้อนรับชาวฝรั่งเศสที่เพิ่งเดินทางมาถึงประเทศไทยและมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ประชาคมฝรั่งเศสมีบทบาทอย่างมากแห่งหนึ่งในเอเชีย
ด้วยเหตุนี้ งานวันชาติฝรั่งเศสครั้งนี้จึงมีบรรยากาศที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยมิตรภาพระหว่าง ไทยและฝรั่งเศส ในปีนี้ พวกเราจะร่วมกันเฉลิมฉลองงานวันชาติเพื่อเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ
สาระทั่วไป
พื้นที่
ฝรั่งเศสมีพื้นที่ 550,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง (เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ล้านตารางกิโลเมตร)
ภูมิประเทศ
พื้นที่ประมาณสองในสามของประเทศฝรั่งเศสเป็นที่ราบ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแอล์ปซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป คือ ยอดเขามงต์บลองก์ (Mont-Blanc) สูง 4,807 เมตร เทือกเขาปิเรเนส์ เทือกเขาจูรา เทือกเขาอาร์แดนส์ เทือกเขามาสซิฟ ซองทราลและเทือกเขาโวจช์ ประเทศฝรั่งเศสมีชายฝั่งทะเลอยู่ถึง 4 ด้าน คิดเป็นความยาวรวมทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร (ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)
ภูมิอากาศ
มี 3 แบบคือ
แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (บริเวณตะวันตกของประเทศ)
แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ทางตอนใต้ของประเทศ)
แบบภาคพื้นทวีป (ทางตอนกลางและภาคตะวันออกของประเทศ)
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
พื้นที่เกษตรกรรมและทำป่าไม้มีประมาณ 48 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่โดยรวมทั้งประเทศ (เฉพาะฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป)
พื้นที่ป่ามีประมาณร้อยละ 30 และนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 และถ้าพูดถึงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
ฝรั่งเศสมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในยุโรปเพราะมีพันธุ์ไม้มากถึง 136 ชนิด ในส่วนของสัตว์ใหญ่ก็เพิ่มจำนวนขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี จำนวนของสัตว์ประเภทกวางเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า
ประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมรดกทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง- อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง- ป่าสงวน 156 แห่ง- เขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า 516 แห่ง- รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อีก 429 แห่งเป็นเขตอนุรักษ์อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล- นอกจากนี้ยังมีอุทยานธรรมชาติตามภูมิภาคต่างๆ อีกกว่า 37 แห่งซึ่งกินพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของประเทศ
งบประมาณจำนวน 32 พันล้านยูโรได้รับการจัดสรรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 516 ยูโร ทั้งนี้ 3 ส่วน 4 ของเงินข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียต่างๆ
ในระดับนานาชาติ ฝรั่งเศสเป็นภาคีของสนธิสัญญาและอนุสัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.environnement.gouv.fr/
ประชากร
ประชากรจำนวน 62.2 ล้านคน (ปี 2005) ความหนาแน่นของประชากร 96 คนต่อตารางกิโลเมตร เมืองมีประชากรมากกว่า 100,000 คนมีถึง 57 เมืองเมืองที่มีประชากรมากที่สุดห้าอันดับแรกคือ

ลำดับ
เมือง
จำนวนประชากร
1
ปารีส
9.6 ล้านคน
2
ลีลล์
1.7 ล้านคน
3
ลียง
1.4 ล้านคน
4
มาร์เซยย์
1.3 ล้านคน
5
ตูลูส
1 ล้านคน

การแบ่งส่วนการปกครอง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสประกอบด้วย
ส่วนที่อยู่บนภาคพื้นทวีป (แบ่งเป็น 22 มณฑลและ 96 จังหวัด)
จังหวัดโพ้นทะเล (DOM) 4 จังหวัดได้แก่ กัวเดอลูป มาร์ตินิก เฟรนช์เกียนาและลา เรอูนียง
ดินแดนโพ้นทะเล (TOM) 5 แห่งได้แก่ เฟรนช์ โปลิเนเซีย, วาลลิสและฟูตูนา, มายอตต์, แซงต์-ปิแอร์-เอต์-มิเกอล็ง, เฟรนช์ เซาเทิร์นและแอนตาร์กติก แทร์ริทอร์รีส์
ดินแดนที่มีสถานภาพพิเศษอีก 1 แห่งคือ นิวแคลิโดเนีย
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.outre-mer.gouv.fr/

สถาบันการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 1958 ได้ระบุบทบาทหน้าที่ของสถาบันต่างๆของสาธารณรัฐที่ 5 ไว้ ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วนของรัฐธรรรมนูญดังกล่าวหลายครั้ง เช่น การให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง (1962) การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของรัฐมนตรี (1993) การให้มีการประชุมสภาเพียงสมัยเดียว การขยายขอบข่ายที่จะให้มีการออกเสียงประชามติ (1995) การกำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับสถานภาพของนิวแคลีโดเนีย (1998) การจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและเงินตรา การให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันสำหรับการอยู่ในวาระเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง การยอมรับขอบข่ายอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (1999) การลดระยะเวลาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี (2000)
ศาลรัฐธรรมนูญ
ประกอบด้วยตุลาการ 9 คน มีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งให้ดำเนินไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและดูแลความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.conseil-constitutionnel.fr/


ประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขของสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตามประชามติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2000)
นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นวาระแรกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสาธารณรัฐที่ 5 ของประเทศฝรั่งเศส
ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อ (มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ)
ประธานาธิบดีเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกาศใช้กฎหมาย เป็นผู้นำของทุกเหล่าทัพและสามารถประกาศยุบสภา ในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงสามารถใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 16

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.elysee.fr/

นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล
ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศและเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายดังกล่าว นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา (มาตรา 20)
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลกิจการต่างๆของรัฐบาลและดูแลการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ (มาตรา 21)
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายฟรองซัวส์ ฟียง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.premier-ministre.gouv.fr/


รัฐสภา
ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
- วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยอ้อม สมาชิกวุฒิสภามีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี (เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2003 ในอดีตวาระยาวถึง 9 ปี) โดยมีการเลือกตั้งหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดใหม่ทุก 3 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2004
- สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2002
นอกเหนือจากการควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาลแล้ว สภาทั้งสองยังมีหน้าที่พิจารณาร่างและลงมติกฎหมายต่าง ๆ ในกรณีที่ทั้งสองสภามีความเห็นแย้งกัน ให้ยืนตามมติของสภาผู้แทนราษฎร

วุฒิสภา
การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2004 สมาชิกทั้งหมด 331 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆ ดังนี้
กลุ่ม Union pour un Mouvement Populaire
155 คน
กลุ่มสังคมนิยม
97 คน
กลุ่ม Union centriste
33 คน
กลุ่ม communiste, républicain et citoyen
23 คน
กลุ่ม Rassemblement démocratique et social européen
16 คน
ไม่สังกัดกลุ่ม
7 คน
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.senat.fr/

สภาผู้แทนราษฎร
การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 และ 16 มิถุนายน 2002 ผู้แทนราษฎรทั้งหมด 577 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆดังนี้
กลุ่ม Union pour un Mouvement Populaire
354 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 10 คน)
กลุ่มสังคมนิยม
142 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 8 คน)
กลุ่ม Union pour la Démocratie Française
27 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 3 คน)
กลุ่ม députés communistes et républicains
22 คน
ไม่สังกัดกลุ่มการเมืองใดๆ
11 คน
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.assemblee-nationale.fr/

ฝ่ายตุลาการ
โครงสร้างขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมของประเทศฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเสรีภาพส่วนบุคคล (มาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญ) แบ่งออกเป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกันเองและศาลปกครองที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนและอำนาจรัฐ
ในส่วนของศาลยุติธรรม ยังแบ่งความรับผิดชอบเขตอำนาจศาลออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
เขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีทางแพ่งซึ่งจะครอบคลุมคดีความเกี่ยวกับกฎหมายทั่วๆไป อยู่ในความรับผิดชอบของศาลจังหวัด (Tribunal de Grande Instance) หรือศาลชำนัญพิเศษซึ่งประกอบด้วยศาลแขวง (Tribunal d’Instance) ศาลพาณิชย์ (Tribunal de Commerce) ศาลพิจารณาคดีความเกี่ยวกับการประกันสังคม (Tribunal des affaires de sécurité) และศาลแรงงานที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Conseil des prud’hommes qui règle les litiges entre salariés et emplyeurs)
เขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีอาญา แบ่งความรับผิดชอบของศาลตามลักษณะความผิด 3 ประเภทดังนี้- ความผิดที่มีโทษเปรียบเทียบปรับ เป็นหน้าที่ของศาลแขวง (Tribunal de Police) - ความผิดทางอาญาที่มีโทษเบาเป็นหน้าที่ของศาลอาญา (Tribunal correctionnel) - ความผิดทางอาญาประเภทร้ายแรงอยู่ในความดูแลของศาลอาญา (Cour d’assises) ศาลอาญาประเภทนี้ใช้ระบบลูกขุนและคำพิพากษาถือเป็นที่สุด ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
นอกจากนี้ ยังมีศาลคดีเด็กและเยาวชน (Tribunal pour Enfants) ซึ่งถือเป็นเขตอำนาจศาลที่แตกต่างจากที่กล่าวมาเนื่องจากจะรับพิจารณาเฉพาะคดีแพ่งและอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน
ศาลฎีกา (Tribunal de Cassation) เป็นกระบวนการยุติธรรมชั้นสูงสุด รับผิดชอบการพิจารณาตรวจสอบข้อกฎหมายของอรรถคดีที่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
สำหรับคดีความระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน เขตอำนาจศาลสูงสุดคือศาลปกครอง (Conseil d’Etat) ซึ่งจะพิจารณาพิพากษาความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางการปกครองและกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกโดยฝ่ายปกครอง คำพิพากษาของศาลปกครองถือเป็นที่สุด นอกจากนี้ศาลปกครองยังเป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายหรือกฎษฎีกาบางฉบับที่รัฐบาลส่งเรื่องมาเพื่อขอทราบความเห็น
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.justice.gouv.fr/ และ http://www.conseil-etat.fr/


เพลงชาติและคำขวัญ
ลา มาร์เซยแยส (La Marseillaise) เป็นเพลงชาติของฝรั่งเศสมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 1795 แต่เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า Chant de guerre pour l’armée du Rhin ซึ่งประพันธ์ขึ้นที่เมืองสตราสบูรก์เมื่อปี 1792
คำขวัญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสคือเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ


ธงชาติของฝรั่งเศส
แต่เดิมสีน้ำเงินแดงเป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังรักษากรุงปารีส ต่อมาในปี 1789 นายพลลาฟาแยตต์เพิ่มสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ นับแต่นั้นมาสีน้ำเงินขาวแดงจึงเป็นสีของธงชาติและกลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ดูข้อมูลเกี่ยวกับสัญญลักษณ์ของสาธารณรัฐและวันชาติฝรั่งเศส (ภาษาฝรั่งเศส)

การป้องกันประเทศ
ในปีค.ศ. 2005 งบประมาณป้องกันประเทศมีจำนวน 32,92 พันล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 1.94 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและร้อยละ 11.41 ของงบประมาณโดยรวม
ตามความประสงค์ของอดีตประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัคและคณะรัฐบาลที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการป้องกันประเทศให้เหมาะสมกับความจำเป็น บัญญัติเกี่ยวกับโครงการทางการทหารช่วงปีค.ศ. 2003-2008 เป็นตัวกำหนดงบประมาณและจำนวนบุคลากรสังกัดเหล่าทัพ และมีมาตราการต่างๆ เพื่อการปรับปรุงการป้องกันประเทศให้เหมาะสมกับปัญหาปัจจุบันดังต่อไปนี้
เสริมสร้างการปราบปรามการก่อการร้ายให้แข็งแกร่ง
ส่งเสริมนโยบายการต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์
ร่วมในการป้องกันและแก้ไขวิกฤต (นายทหารจำนวน 15-20,000 นายร่วมในแผนการดำเนินการ)
ยืนยันพันธกรณีของฝรั่งเศสในการเข้าร่วมกองกำลังทหารร่วมของยุโรปและนาโต้
ในปี 2005 บุคลากรสังกัดเหล่าทัพต่างๆ ของฝรั่งเศสทั้งทหารและพลเรือนมีจำนวนทั้งสิ้น 436,910 คนและขึ้นอยู่กับกองทัพต่างๆ ดังนี้
กองทัพบก 162,521 คน
กองทัพอากาศ 68,610 คน
กองทัพเรือ 53,460 คน
ตำรวจสังกัดกระทรวงกลาโหม 100,721 คน
48,598 คนกระจายอยู่ในหน่วยสนับสนุน (อาทิเช่น หน่วยงานด้านสุขภาพ หน่วยงานบรรเทาทุกข์ ฯลฯ)







1 ความคิดเห็น:

หนูปุ้ย(ตัวเล็ก) กล่าวว่า...

สวัสดิ์ดีก่อนนอนนะค่ะพี่สร้อย ดีใจมากเลยที่มีคนไปเม้นให้ด้วยอ่าขอบคุณมากๆๆๆๆๆเลยนะค่ะ ไปละง่วงละ20.15ละต้องไปนอนละง่วงๆ บายจุ๊ฟๆ