วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

น.ส. เพชรรัตน์ มณีนุษย์
รหัส 5315680180 ( 616 )
คณะศิลปกรรมศาสตร์ การละคอน

บทวิจารณ์เรื่อง “ โหมโรง ”

โหมโรงเป็นภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่ทำให้ข้าพเจ้าสามารถร้องไห้ได้ เนื่องจากโดยปกติแล้วเป็นคนที่จะไม่ค่อยมีความรู้สึกร่วมกับภาพยนตร์มากนัก แต่เรื่องนี้ ที่ถึงแม้จะเป็นหนังไทย สามารถทำให้ข้าพเจ้าซาบซึ้งและสะกดใจผู้ชมไว้ได้ ด้วยความที่เป็นรากเหง้าวัฒนธรรมของเราเอง ที่ถูกนำเสนอและถ่ายทอดออกมาได้อย่างบรรจงสวยงามและน่าสนใจแล้ว ยังมีศิลปะทางดนตรี ซึ่งมีความเป็นสุนทรียศาสตร์ สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกเคลิ้บเคลิ้มและรู้สึก “ อิ่มใจ ” กับหลายๆบทเพลงได้
ในความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความประทับใจในหลายๆฉาก ของเรื่องนี้ เช่น ฉากการนำเสนอรูปแบบความรักของพระเอก (ศร ) ต่อนางเอกได้อย่างคลาสสิค และโรแมนติกมาก เป็นรูปแบบของหนุ่มสาวที่เพียงแต่สบตากัน และมีทำนองดนตรีเพลงคำหวานซึ่งพระเอกเล่นมาประกอบ แม้จะปราศจากคำพูด แต่เพียงแค่นี้ก็สามารถบรรยายความประทับใจของพระเอกต่อตัวนางเอกได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ ยังได้ทิ้งปมไว้ให้ผู้ชมได้คิดต่อไปเองว่า ทั้งสองคนได้แต่งงานกันหรือไม่ หรือแม้แต่คุณยายที่อยู่กับคุณหลวงในวัยชรา จะคือคนเดียวกับหญิงงาม คนนั้นหรือไม่ และฉากที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน คือ เมื่อศรได้ชนะการประชันกับขุนอินแล้ว ได้เข้าไปกราบขอขมาตามประเพณีไทยที่ดีงาม แต่ขุนอินได้แสดงความเป็นผู้ใหญ่พอที่จะกล่าวคำให้อภัย และกล่าวชมเชยผู้น้อยที่มีฝีมือเหนือกว่าตน พร้อมทั้งมองไปข้างหน้าด้วยใจเป็นธรรม โดยฝากฝังอนาคตของดนตรีไทยไว้กับเจ้าหนุ่มผู้นี้ แสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของวัฒนธรรมไทยที่ไม่ได้นำศิลปะมาเป็นการต่อสู้ แต่เป็นวัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์ที่สะท้อนให้เห็นถึงมุฑิตาจิตและอภัยทานของแก่นภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ เช่นเดียวกับฉากสุดท้านในตอนจบที่ ผู้พันได้ขอตรวจค้นในบ้านท่านครู และแสดงอาการดูถูกรากเหง้าวัฒนธรรมดนตรีไทย
แก่นทางวัฒนธรรมบางประการที่กำหนดให้คนใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติงานมากกว่าที่จะ
หลับหูหลับตาทำตามคำสั่งเจ้านาย ภาพยนตร์เรื่อง 'โหมโรง' ตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า สังคมนี้มิใช่สังคมของผู้ตามอย่างที่ผู้มีอำนาจทั้งหลายคิดกันหรือกำลังคิดอยู่ในขณะนี้