สาระทั่วไปพื้นที่
ฝรั่งเศสมีพื้นที่ 550,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง (เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ล้านตารางกิโลเมตร)
ภูมิประเทศ
พื้นที่ประมาณสองในสามของประเทศฝรั่งเศสเป็นที่ราบ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแอล์ปซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป คือ ยอดเขามงต์บลองก์ (Mont-Blanc) สูง 4,807 เมตร เทือกเขาปิเรเนส์ เทือกเขาจูรา เทือกเขาอาร์แดนส์ เทือกเขามาสซิฟ ซองทราลและเทือกเขาโวจช์ ประเทศฝรั่งเศสมีชายฝั่งทะเลอยู่ถึง 4 ด้าน คิดเป็นความยาวรวมทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร (ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)
ภูมิอากาศ
มี 3 แบบคือ
แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (บริเวณตะวันตกของประเทศ)
แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ทางตอนใต้ของประเทศ)
แบบภาคพื้นทวีป (ทางตอนกลางและภาคตะวันออกของประเทศ)
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
พื้นที่เกษตรกรรมและทำป่าไม้มีประมาณ 48 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่โดยรวมทั้งประเทศ (เฉพาะฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป)
พื้นที่ป่ามีประมาณร้อยละ 30 และนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 และถ้าพูดถึงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
ฝรั่งเศสมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในยุโรปเพราะมีพันธุ์ไม้มากถึง 136 ชนิด ในส่วนของสัตว์ใหญ่ก็เพิ่มจำนวนขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี จำนวนของสัตว์ประเภทกวางเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า
ประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมรดกทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง- อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง- ป่าสงวน 156 แห่ง- เขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า 516 แห่ง- รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อีก 429 แห่งเป็นเขตอนุรักษ์อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล- นอกจากนี้ยังมีอุทยานธรรมชาติตามภูมิภาคต่างๆ อีกกว่า 37 แห่งซึ่งกินพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของประเทศ
งบประมาณจำนวน 32 พันล้านยูโรได้รับการจัดสรรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 516 ยูโร ทั้งนี้ 3 ส่วน 4 ของเงินข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียต่างๆ
ในระดับนานาชาติ ฝรั่งเศสเป็นภาคีของสนธิสัญญาและอนุสัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.environnement.gouv.fr/ประชากร
ประชากรจำนวน 62.2 ล้านคน (ปี 2005) ความหนาแน่นของประชากร 96 คนต่อตารางกิโลเมตร เมืองมีประชากรมากกว่า 100,000 คนมีถึง 57 เมืองเมืองที่มีประชากรมากที่สุดห้าอันดับแรกคือ
ลำดับ
เมือง
จำนวนประชากร
1
ปารีส
9.6 ล้านคน
2
ลีลล์
1.7 ล้านคน
3
ลียง
1.4 ล้านคน
4
มาร์เซยย์
1.3 ล้านคน
5
ตูลูส
1 ล้านคน
การแบ่งส่วนการปกครอง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสประกอบด้วย
ส่วนที่อยู่บนภาคพื้นทวีป (แบ่งเป็น 22 มณฑลและ 96 จังหวัด)
จังหวัดโพ้นทะเล (DOM) 4 จังหวัดได้แก่ กัวเดอลูป มาร์ตินิก เฟรนช์เกียนาและลา เรอูนียง
ดินแดนโพ้นทะเล (TOM) 5 แห่งได้แก่ เฟรนช์ โปลิเนเซีย, วาลลิสและฟูตูนา, มายอตต์, แซงต์-ปิแอร์-เอต์-มิเกอล็ง, เฟรนช์ เซาเทิร์นและแอนตาร์กติก แทร์ริทอร์รีส์
ดินแดนที่มีสถานภาพพิเศษอีก 1 แห่งคือ นิวแคลิโดเนีย
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.outre-mer.gouv.fr/สถาบันการเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 1958 ได้ระบุบทบาทหน้าที่ของสถาบันต่างๆของสาธารณรัฐที่ 5 ไว้ ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วนของรัฐธรรรมนูญดังกล่าวหลายครั้ง เช่น การให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง (1962) การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของรัฐมนตรี (1993) การให้มีการประชุมสภาเพียงสมัยเดียว การขยายขอบข่ายที่จะให้มีการออกเสียงประชามติ (1995) การกำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับสถานภาพของนิวแคลีโดเนีย (1998) การจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและเงินตรา การให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันสำหรับการอยู่ในวาระเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง การยอมรับขอบข่ายอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (1999) การลดระยะเวลาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี (2000)
ศาลรัฐธรรมนูญ
ประกอบด้วยตุลาการ 9 คน มีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งให้ดำเนินไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและดูแลความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.conseil-constitutionnel.fr/ประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขของสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตามประชามติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2000)
นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นวาระแรกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสาธารณรัฐที่ 5 ของประเทศฝรั่งเศส
ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อ (มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ)
ประธานาธิบดีเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกาศใช้กฎหมาย เป็นผู้นำของทุกเหล่าทัพและสามารถประกาศยุบสภา ในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงสามารถใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 16
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.elysee.fr/นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล
ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศและเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายดังกล่าว นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา (มาตรา 20)
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลกิจการต่างๆของรัฐบาลและดูแลการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ (มาตรา 21)
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายฟรองซัวส์ ฟียง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.premier-ministre.gouv.fr/รัฐสภา
ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
- วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยอ้อม สมาชิกวุฒิสภามีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี (เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2003 ในอดีตวาระยาวถึง 9 ปี) โดยมีการเลือกตั้งหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดใหม่ทุก 3 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2004
- สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2002
นอกเหนือจากการควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาลแล้ว สภาทั้งสองยังมีหน้าที่พิจารณาร่างและลงมติกฎหมายต่าง ๆ ในกรณีที่ทั้งสองสภามีความเห็นแย้งกัน ให้ยืนตามมติของสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2004 สมาชิกทั้งหมด 331 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆ ดังนี้
กลุ่ม Union pour un Mouvement Populaire
155 คน
กลุ่มสังคมนิยม
97 คน
กลุ่ม Union centriste
33 คน
กลุ่ม communiste, républicain et citoyen
23 คน
กลุ่ม Rassemblement démocratique et social européen
16 คน
ไม่สังกัดกลุ่ม
7 คน
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.senat.fr/สภาผู้แทนราษฎร
การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 และ 16 มิถุนายน 2002 ผู้แทนราษฎรทั้งหมด 577 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆดังนี้
กลุ่ม Union pour un Mouvement Populaire
354 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 10 คน)
กลุ่มสังคมนิยม
142 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 8 คน)
กลุ่ม Union pour la Démocratie Française
27 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 3 คน)
กลุ่ม députés communistes et républicains
22 คน
ไม่สังกัดกลุ่มการเมืองใดๆ
11 คน
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.assemblee-nationale.fr/ฝ่ายตุลาการ
โครงสร้างขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมของประเทศฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเสรีภาพส่วนบุคคล (มาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญ) แบ่งออกเป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกันเองและศาลปกครองที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนและอำนาจรัฐ
ในส่วนของศาลยุติธรรม ยังแบ่งความรับผิดชอบเขตอำนาจศาลออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
เขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีทางแพ่งซึ่งจะครอบคลุมคดีความเกี่ยวกับกฎหมายทั่วๆไป อยู่ในความรับผิดชอบของศาลจังหวัด (Tribunal de Grande Instance) หรือศาลชำนัญพิเศษซึ่งประกอบด้วยศาลแขวง (Tribunal d’Instance) ศาลพาณิชย์ (Tribunal de Commerce) ศาลพิจารณาคดีความเกี่ยวกับการประกันสังคม (Tribunal des affaires de sécurité) และศาลแรงงานที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Conseil des prud’hommes qui règle les litiges entre salariés et emplyeurs)
เขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีอาญา แบ่งความรับผิดชอบของศาลตามลักษณะความผิด 3 ประเภทดังนี้- ความผิดที่มีโทษเปรียบเทียบปรับ เป็นหน้าที่ของศาลแขวง (Tribunal de Police) - ความผิดทางอาญาที่มีโทษเบาเป็นหน้าที่ของศาลอาญา (Tribunal correctionnel) - ความผิดทางอาญาประเภทร้ายแรงอยู่ในความดูแลของศาลอาญา (Cour d’assises) ศาลอาญาประเภทนี้ใช้ระบบลูกขุนและคำพิพากษาถือเป็นที่สุด ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
นอกจากนี้ ยังมีศาลคดีเด็กและเยาวชน (Tribunal pour Enfants) ซึ่งถือเป็นเขตอำนาจศาลที่แตกต่างจากที่กล่าวมาเนื่องจากจะรับพิจารณาเฉพาะคดีแพ่งและอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน
ศาลฎีกา (Tribunal de Cassation) เป็นกระบวนการยุติธรรมชั้นสูงสุด รับผิดชอบการพิจารณาตรวจสอบข้อกฎหมายของอรรถคดีที่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
สำหรับคดีความระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน เขตอำนาจศาลสูงสุดคือศาลปกครอง (Conseil d’Etat) ซึ่งจะพิจารณาพิพากษาความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางการปกครองและกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกโดยฝ่ายปกครอง คำพิพากษาของศาลปกครองถือเป็นที่สุด นอกจากนี้ศาลปกครองยังเป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายหรือกฎษฎีกาบางฉบับที่รัฐบาลส่งเรื่องมาเพื่อขอทราบความเห็น
ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.justice.gouv.fr/ และ
http://www.conseil-etat.fr/เพลงชาติและคำขวัญ
ลา มาร์เซยแยส (La Marseillaise) เป็นเพลงชาติของฝรั่งเศสมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 1795 แต่เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า Chant de guerre pour l’armée du Rhin ซึ่งประพันธ์ขึ้นที่เมืองสตราสบูรก์เมื่อปี 1792
คำขวัญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสคือเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ
ธงชาติของฝรั่งเศส
แต่เดิมสีน้ำเงินแดงเป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังรักษากรุงปารีส ต่อมาในปี 1789 นายพลลาฟาแยตต์เพิ่มสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ นับแต่นั้นมาสีน้ำเงินขาวแดงจึงเป็นสีของธงชาติและกลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ดูข้อมูลเกี่ยวกับสัญญลักษณ์ของสาธารณรัฐและวันชาติฝรั่งเศส (ภาษาฝรั่งเศส)
การป้องกันประเทศ
ในปีค.ศ. 2005 งบประมาณป้องกันประเทศมีจำนวน 32,92 พันล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 1.94 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและร้อยละ 11.41 ของงบประมาณโดยรวม
ตามความประสงค์ของอดีตประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัคและคณะรัฐบาลที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการป้องกันประเทศให้เหมาะสมกับความจำเป็น บัญญัติเกี่ยวกับโครงการทางการทหารช่วงปีค.ศ. 2003-2008 เป็นตัวกำหนดงบประมาณและจำนวนบุคลากรสังกัดเหล่าทัพ และมีมาตราการต่างๆ เพื่อการปรับปรุงการป้องกันประเทศให้เหมาะสมกับปัญหาปัจจุบันดังต่อไปนี้
เสริมสร้างการปราบปรามการก่อการร้ายให้แข็งแกร่ง
ส่งเสริมนโยบายการต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์
ร่วมในการป้องกันและแก้ไขวิกฤต (นายทหารจำนวน 15-20,000 นายร่วมในแผนการดำเนินการ)
ยืนยันพันธกรณีของฝรั่งเศสในการเข้าร่วมกองกำลังทหารร่วมของยุโรปและนาโต้
ในปี 2005 บุคลากรสังกัดเหล่าทัพต่างๆ ของฝรั่งเศสทั้งทหารและพลเรือนมีจำนวนทั้งสิ้น 436,910 คนและขึ้นอยู่กับกองทัพต่างๆ ดังนี้
กองทัพบก 162,521 คน
กองทัพอากาศ 68,610 คน
กองทัพเรือ 53,460 คน
ตำรวจสังกัดกระทรวงกลาโหม 100,721 คน
48,598 คนกระจายอยู่ในหน่วยสนับสนุน (อาทิเช่น หน่วยงานด้านสุขภาพ หน่วยงานบรรเทาทุกข์ ฯลฯ)